ถอดบทเรียนสำคัญเรือชนสะพานที่บัลติมอร์
ลองจินตนาการว่าจะเกิดอะไรขึ้นหากเรือลำนี้ไม่ได้ทำประกันเอา ค่าเสียหายทั้งหมดใครจะจ่าย
ประกันการขนส่งทางทะเล Marine & Cargo Insurance
ลองจินตนาการว่าจะเกิดอะไรขึ้นหากเรือลำนี้ไม่ได้ทำประกันเอา ค่าเสียหายทั้งหมดใครจะจ่าย
ประกันเรือเป็นประเภทของกรมธรรม์ประกันซึ่งให้ความคุ้มครองสำหรับเรือ สินค้า และทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับทางเรือ มันถูกออกแบบมาเพื่อปกป้องธุรกิจที่พึ่งพาการขนส่งสินค้าผ่านการขนส่งทางเรือ
การขนส่งสินค้าอาจเป็นธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูง โดยมีความเป็นไปได้ที่สินค้าของคุณจะเสียหายหรือสูญหายไประหว่างการขนส่ง ในคู่มือนี้ เราจะกล่าวถึงขั้นตอนสำคัญที่คุณสามารถทำเพื่อป้องกันสินค้าของคุณจากการเสียหาย รวมถึงการเลือกประกันที่เหมาะสม การบรรจุหีบห่อสินค้าอย่างถูกต้อง และการดูแลการขนส่งให้เหมาะสม
ประกันภัยทางเรือเป็นประเภทของประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองสำหรับธุรกิจที่ขนส่งสินค้าข้ามมหาสมุทร มันปกป้องธุรกิจจากการสูญเสียเงินสำหรับความเสียหายหรือสูญหายของสินค้า ความล่าช้าหรือความขัดขวางในการขนส่ง และปัญหาความรับผิดชอบที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการขนส่งสินค้า
การประกันภัยขนส่งสินค้าในประเทศ มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อระบบธุรกิจการค้าเพราะเป็นการประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองสินค้าที่เอาประกันภัยกรณีสูญเสียหรือเสียหาย เนื่องจากอุบัติเหตุการขนส่งภายในประเทศไทย ทั้งทางรถบรรทุก ทางเรือ ทางรถไฟ ทางเครื่องบิน
ในการส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ การประกันภัยย่อมเป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็นมาก โดยมีประกันที่เกี่ยวข้องมากมายเช่น ประกันภัยทะเล ที่เรียกว่า Marine Cargo Insurance ประกันภัยสินเชื่อทางการค้า หรือ Trade Credit Insurance และยังมีประกันภัยที่สำคัญมากอีกชนิดหนึ่ง คือ ประกันภัยความรับผิดต่อผลิตภัณฑ์ ชื่อเรียกในภาษาประกันจะใช้ว่า Product Liability Insurance เป็นประกันที่คุ้มครองความรับผิดของผลิตภัณฑ์ที่ผู้ส่งออก ขายไปยังตลาดต่างประเทศ
ความเสี่ยงกับการทำธุรกิจมักเป็นของคู่กัน เพราะการลงทุนทุกอย่างย่อมมีความเสี่ยงอยู่ในตัวเอง รวมทั้งการลงทุนประกอบการดำเนินธุรกิจประเภทต่างๆ ก็เช่นกัน มักเป็นการลงทุนเพื่อแสวงหากำไรที่ได้จากการประกอบการ ดังนั้นจึงเป็นธรรมดาที่ต้องมีความเสี่ยงเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเสมอนั่นเอง แต่ถึงแม้จะมีความเสี่ยงเข้ามาเกี่ยวข้องในทุกธุรกิจก็ตาม เรายังสามารถหลีกเลี่ยงหรือป้องกันไม่ให้ความเสี่ยงเกิดขึ้น หรือเกิดขึ้นให้น้อยที่สุดได้ หากมีการวางแผนการรับมือที่ดี
ธุรกิจที่ต้องมีการส่งออกไม่ว่าจะเป็นการส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้านที่อยู่ใกล้เคียง หรือจะเป็นประเทศในแถบอื่นก็ตาม ย่อมต้องมีค่าใช้จ่ายที่เกิดเนื่องจากการส่งออกที่ตามมาเป็นอย่างมาก เมื่อเทียบกับการกระจายสินค้าหรือบริการภายในประเทศ เพราะการส่งออกในทุกธุรกิจย่อมต้องมีค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการส่งออกเช่นกัน อีกทั้งเนื่องจากการส่งออกสินค้าและบริการไปยังต่างประเทศมีหลายขั้นตอน ซึ่งบางขั้นตอนต้องอาศัยการใช้บริการ Sub Contract อีกทอดหนึ่ง จึงทำให้ต้องควักเงินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายหลายต่อนั่นเอง
ธุรกิจทุกวันนี้ต้องมีการขยายตัว และพร้อมปรับตัวให้ทันตามวิถีโลกอย่างรวดเร็วจึงจะยืนหยัดในวงการธุรกิจได้อย่างยาวนาน ซึ่งการส่งออกสินค้าและบริการของตนเองไปยังประเทศเพื่อนบ้าน หรือต่างประเทศอื่นๆ ก็นับว่าเป็นวิถีหนึ่งในการเข้าสู่วงจรเพื่อขยายตัวทางธุรกิจที่สำคัญ อีกทั้งต่างประเทศยังได้สัมผัสถึงสินค้าของคุณได้มากกว่า ซึ่งการส่งออกถือว่าเป็นการเปิดสินค้าให้ลูกค้าจากต่างประเทศเข้าถึงได้ง่ายด้วย แต่ก็ยังมีหลายๆ ธุรกิจที่ยังไม่มีแนวทางชัดเจนว่าควรจะเริ่มต้นการส่งออกอย่างไรบ้าง มาดุการส่งออกว่าควรทำอย่างไร และอย่างไรถึงเรียกว่าการส่งออกที่ดี
เมื่อมีการแลกเปลี่ยนสินค้าหรือส่งออกระหว่างประเทศ จากประเทศต้นทางไปยังประเทศปลายทาง เพื่อกระจายสินค้าหรือบริการนั้น ปัจจัยหนึ่งที่เป็นสิ่งสำคัญในการซื้อขายระหว่างประเทศนั่นก็คือ อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินที่คุณควรทำความเข้าใจในทุกขณะด้วย เพราะอัตราแลกเปลี่ยนในแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน หรือแม้จะเป็นประเทศเดิมที่เป็นคู่ค้าเก่า ก็ยังคงต้องศึกษาถึงอัตราแลกเปลี่ยนด้วย เพราะค่าเงินมีการผันผวนอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นคุณจึงต้องเป็นคนหูไวตาไวอยู่ตลอด เพื่อรู้ให้ทันทุกช่วงในการปรับเปลี่ยนขึ้น-ลง ของอัตราค่าเงินในแต่ละประเทศนั่นเอง
อีกหนึ่งขั้นตอนที่อาจเกิดความเสียหายให้กับธุรกิจได้นั่นก็คือ การส่งออกสินค้าไปยังประเทศต่างๆ เพื่อกระจายสินค้าและการเข้าถึงของลูกค้าให้มากขึ้น อีกทั้งยังเป็นการสร้างคอนเนคชั่นขององค์ให้ขยายใหญ่และเติบโตขึ้นได้ด้วย ซึ่งการส่งออกสินค้าไม่ว่าจะเป็นกระบวนการโดยโลจิสติกส์แบบใด ย่อมอาจเกิดความเสียหายแก่การขนส่งหรือลำเลียงสินค้านั้นๆ ได้ รวมทั้งขั้นตอนเริ่มแรกหรือขั้นตอนสุดท้ายในการส่งออก ซึ่งก็คือการทำเอกสารส่งออกนั่นเอง ซึ่งการทำเอกสารส่งออกถือว่าเป็นสิ่งสำคัญและละเอียดอ่อนต่อการส่งออกเป็นอย่างยิ่ง เพราะต้องมีคู่ค้าปลายทางที่อยู่อีกสถานที่หนึ่ง และอยู่ห่างกันโดยระยะทาง ดังนั้นการทำเอกสารส่งออกจึงต้องมีความรัดกุมเป็นพิเศษนั่นเอง
ความเสี่ยงในการประกอบกิจการต่างๆ ล้วนเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดความเสียหายและผลร้ายต่อธุรกิจได้ ดังนั้นการวางแผนเพื่อให้ธุรกิจเติบโตไปได้อย่างปลอดภัย และยังสร้างผลกำไรให้เป็นที่น่าพอใจ จึงควรมีการวางแผนในทุกๆ ขั้นตอน รวมทั้งการบริหารความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากการดำเนินการได้ด้วย เพื่อที่จะได้ลดภาวะความเสี่ยงให้เป็นศูนย์หรือน้อยลง หรือเพื่อเป็นอีกทางหนึ่งที่ช่วยให้ผู้ประกอบการเตรียมรับมือได้อย่างถูกต้อง และทันท่วงทีนั่นเอง
เพราะการส่งออกสินค้าในแต่ละคราวมักมีการขนส่งเป็นจำนวนมากในแต่ละคราว ทั้งนี้เพราะการส่งออกในแต่ละครั้งย่อมมีค่าใช้จ่ายและค่าเสี่ยงภัยต่างๆ ที่ตามมามากกว่าการขายสินค้าในประเทศ ซึ่งผู้ประกอบการทั้งหลายย่อมทราบปัญหาข้อนี้ดี แต่ก็ยอมก้าวเข้าสู่การบริหารการส่งออกสินค้าเพื่อเป็นการบุกตลาดสินค้าของตนให้ขยายตัวมากขึ้น ดังนั้นการชำระเงินค่าสินค้าในการส่งออกไปยังต่างประเทศก็ย่อมมีจำนวนสูงมากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งผู้ประกอบการทั้งหลายก็ยังมีตัวช่วยในเรื่องการชำระเงิน ที่สามารถเลือกให้เหมาะสมกับธุรกิจของตนเองด้วย มีเทคนิคอะไรบ้าง ตามมาดูกันเลย
การส่งออกสินค้าของไทยที่มีแนวโน้มสูงขึ้นตลอดมา ไม่ว่าจะเป็นสินค้าภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรม หรือเทคโนโลยีต่างๆ สำหรับผู้ประกอบการรายเดิมที่เชี่ยวชาญด้านการส่งออกคงไม่มีปัญหาอะไรในการเตรียมความพร้อมก่อนส่งออก แต่หากคุณเป็นผู้ประกอบการรายใหม่ที่กำลังก้าวเข้าสู่การส่งออกสินค้าแล้วล่ะก็ ควรศึกษาถึงขั้นตอนและปัจจัยต่างๆ เพื่อช่วยในการเตรียมความพร้อมก่อนส่งออกที่ถูกต้องด้วย ทั้งนี้เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงที่อาจสร้างปัญหาที่ตามมาได้นั่นเอง
การส่งออกในปัจจุบันมีแนวโน้มสูงมากขึ้นทุกปี เนื่องจากความต้องการสินค้าของต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้านมักมีความต้องการสินค้าที่สูงขึ้นมากอย่างต่อเนื่อง เช่น ผลไม้ พืชผัก ข้าว ซึ่งประเทศเราผลิตได้ในปริมาณมากและมีคุณภาพ ส่วนสินค้าอื่นๆ ก็ยังคงมีทิศทางการส่งออกที่สูงขึ้นด้วย ทั้งนี้เนื่องจากการซื้อขายระหว่างประเทศง่ายขึ้น การขนส่งสินค้าระหว่างประเทศมีความคล่องตัวและรวดเร็วขึ้นด้วย จึงส่งผลให้ทิศทางการส่งออกมีแนวโน้มสูงขึ้นตลอดเวลานั่นเอง ซึ่งก่อนที่ผู้ประกอบการจะส่งสินค้าออกนั้น ควรเรียนรู้และศึกษาถึงขั้นตอนการส่งออกต่างๆ ที่ถูกต้องและครบถ้วนด้วย เพื่อการส่งออกที่ถูกต้องตามระเบียบ และลดความยุ่งยากที่อาจเกิดขึ้นได้นั่นเอง
การขนส่งทางทะเล นับเป็นกระบวนการโลจิสติกส์อย่างหนึ่งที่มีความเติบโตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในอดีตการขนส่งทางทะเลก็นับว่ามีบทบาทที่สำคัญต่อการขนส่งสินค้าและบริการต่างๆ ระหว่างกัน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ และในปัจจุบันด้วยการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่เป็นไปอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งการค้าระหว่างประเทศที่มีการเปิดการค้าแบบเสรีมากขึ้น การขนส่งสินค้าทางทะเลจึงมีบทบาทที่สำคัญอย่างยิ่ง และกลายเป็นการขนส่งที่มีความซับซ้อนและข้อยุ่งยากมากกว่าอดีตด้วย ทั้งในเรื่องการบรรจุสินค้า การลำเลียง การขนส่ง ท่าเรือต้นท่าและปลายท่า เป็นต้น ดังนั้นเหล่าผู้ประกอบการทั้งหลายจึงควรมีการวางแผนความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการขนส่งทางทะเลด้วย ทั้งนี้เพื่อเป็นการบรรเทาหรือทุเลาความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้นั่นเอง
ประกันการขนส่งทางทะเล คือชื่อเรียกโดยรวมของการขนส่งสินค้าต่างๆ ตั้งแต่การขนส่งสินค้าโดยทางเรือ ต่อเนื่องไปจนถึงการลำเลียงสินค้าเพื่อให้ไปถึงปลายทางด้วยทางบก หรือทางอากาศ แต่จะเรียกโดยรวมว่าการขนส่งสินค้าทางทะเลนั่นเอง ซึ่งการขนส่งสินค้าทางทะเลนับเป็นการขนส่งสินค้าที่มีผู้ใช้บริการเป็นจำนวนมาก เนื่องจากสามารถขนส่งสินค้าได้คราวละจำนวนมาก ทั้งยังเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการขนส่งด้วยวิธีอื่นๆ อีกด้วย แต่การขนส่งสินค้าทางทะเลนี้ก็มีข้อจำกัดที่สร้างเงื่อนไขให้กับเจ้าของธุรกิจเช่นกัน เนื่องจากอาจเกิดเหตุการณ์ต่างๆ ที่ไม่อาจคาดการณ์ได้ล่วงหน้า ดังนั้นจึงควรมีการทำประกันภัยขนส่งทางทะเลทุกครั้ง เพื่อเป็นการบรรเทาความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้นั่นเอง
การขนส่งทุกรูปแบบย่อมมีความเสี่ยงด้วยกันทั้งนั้น ไม่ว่าจะเกิดจากความเสี่ยงของสินค้าเอง ของผู้ขนส่งเอง หรืออาจจะเกิดจากปัจจัยภายนอกที่อยู่เหนือการควบคุมอย่างเช่นภัยทางธรรมชาติก็เป็นได้ ดังนั้นการขนส่งสินค้าทางทะเลทุกครั้ง ควรมีการทำประกันภัยการขนส่งด้วย เพื่อจะได้มีผู้รองรับความเสี่ยงนั้นๆ แทนเจ้าของสินค้านั่นเอง
การขนส่งสินค้าทางทะเล นับเป็นการขนส่งรูปแบบหนึ่งที่เป็นที่นิยมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ทั้งยังถือว่าเป็นกาขนส่งสินค้าคราวละมากๆ ที่เป็นการบุกเบิกการขนส่งสินค้าทางน้ำของไทยด้วย เนื่องจากในอดีตการสัญจรไปมาระหว่างกันยังคงต้องใช้การโดยสารทางน้ำ หรือเรือเท่านั้น รวมทั้งการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศก็ยังคงเป็นการขนส่งสินค้าทางทะเลอีกด้วย ซึ่งในปัจจุบันการขนส่งชนิดนี้ก็ยังคงได้รับความนิยมอยู่เช่นเดิม เนื่องจากถือว่าเป็นการขนส่งสินค้าที่มีความปลอดภัย และค่าระวางสินค้าถูกว่าการขนส่งรูปแบบอื่นๆ เมื่อมีการขนส่งสินค้าทางทะเลอย่างกว้างขวาง ก็ย่อมต้องมีการประกันภัยการขนส่งทางทะเลมากขึ้นตามระบบด้วย เพื่อเป็นการเซฟหรือมีการชดใช้ค่าความสียหายที่เกิดขึ้นจากผู้รับประกันภัย หากมีกรณีอุบัติเหตุที่เกิดเนื่องจากการขนส่งสินค้านั่นเอง
การประกันภัยทางทะเลและขนส่ง หรือที่เรียกกันว่า Marine หรือ Cargo Insurance จะหมายถึง การประกันภัยที่คุ้มครองความสูญเสียหรือความเสียหายต่อเรือและทรัพย์สินหรือสินค้าที่อยู่ในระหว่างการขนส่งทางทะเล พร้อมกับการขยายขอบเขตความคุ้มครองไปถึงความเสียหายขณะขนส่งสินค้าทางอากาศ ทางบก หรือทางรถไฟ ซึ่งต่อเนื่องกับการขนส่งทางทะเลด้วยและความครอบคลุมนั้นบางทีจะเริ่มตั้งแต่ต้นทางที่โกดังหรือที่บริษัทต้นทางได้เลย