เข้าใจก่อนซื้อประกันการก่อสร้าง

เข้าใจก่อนซื้อประกันการก่อสร้าง

เนื่องจากประกันการก่อสร้างเป็นประกันภัยรูปแบบหนึ่งที่จำเป็นต้องทำเมื่อมีการก่อสร้างต่างๆ และที่สำคัญหากเป็นการก่อสร้างที่มีขนาดใหญ่หรือลงทุนสูง ทั้งยังต้องใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างที่ยาวนานแล้ว ย่อมต้องทำประกันการก่อสร้างด้วยกันทั้งนั้น โดยผู้รับเหมาหรือเจ้าของโครงการจะเป็นผู้ติดต่อซื้อประกันภัยการก่อสร้าง โดยระบุให้ตนเป็นผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์ ซึ่งบริษัทประกันก็จะเข้ามารับผิดชอบในเรื่องค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อทั้งบุคคลภายนอกและต่อผู้เอาประกันภัยนี้เอง

ประกันโรงงานคืออะไร?

หลายคนอาจจะเคยมีคำถามนี้ในหัวว่าประกันโรงงานคืออะไร จริงๆแล้วต้องบอกว่า ประกันโรงงานก็คือประกันสำหรับธุรกิจ ซึ่งไม่เพียงแต่โรงงานเท่านั้นที่สามารถทำประกันอัคคีภัยได้ แต่ยังสามารถรวมไปถึง เครื่องจักรสำหรับการผลิตต่างๆ การติดตั้งเครื่องจักรสำหรับการผลิต การโยกย้ายเครื่องจักรต่างๆ การประกันไลน์การผลิต วัตถุดิบ โกดังสินค้า สินค้าที่ผลิตเสร็จแล้วเพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดส่งไปยังลูกค้าหรือว่าส่วนอื่นๆ ไม่ว่าเกิดจากภัยไฟไหม้ น้ำท่วม ภัยธรรมชาติต่างๆ นอกจากนี้การทำประกันโรงงานในหลายๆกรณียังรวมถึงภัยจากอุบัติเหตุต่อพนักงานและบุคคลที่ 3 ภายในโรงงานและการผลิตเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ยังครอบคลุมได้ถึงรถบรรทุก รถขนส่ง รถหัวลาก สินค้าขนส่งทั้งในประเทศและต่างประเทศและยังสามารถคุ้มครองภัยจากการทุจริตและฉ้อโกงของพนักงานได้ หากการฉ้อโกงนั้นทำให้เกิดความสูญเสียในธุรกิจและองค์กร

ประกันวัดทำได้ไหม?

ประกันวัดทำได้ไหม

วัด โบสถ์ และ ศาสนสถานทั่วประเทศ ล้วนเป็นสิ่งก่อสร้างสำคัญสำหรับประเทศไทยและสำหรับคนในทุกเมืองทุกพื้นที่ ไม่เพียงแค่จะเป็นศูนย์รวมของคนในแต่ละพื้นที่ แต่ยังเป็นสถาที่สำหรับการปฏิบัติธรรม การสอนธรรมะ การกราบไหว้บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ โดยที่ไม่เพียงแค่สำหรับศาสนาพุทธเท่านั้นแต่ยังจำเป็นสำหรับทุกๆศาสนาที่มีการดำเนินกิจของแต่ละศาสนา จึงบอกได้่า วัด โบสถ์และศาสนสถานไม่ว่าสำหรับศาสนาใดย่อมเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้คนทุกๆคนในสังคมประเทศไทย

ประเภทของประกันการก่อสร้าง

ประเภทประกันก่อสร้าง

ประกันภัยการก่อสร้างคือ ประกันภัยรูปแบบหนึ่งที่คุ้มครองความเสี่ยงที่เกิดขึ้นเนื่องมาจากการดำเนินงานด้านก่อสร้าง ซึ่งผู้รับเหมาหรือเจ้าของโครงการก่อสร้างจะทำประกันภัยไว้ เพื่อโยนภาระความเสี่ยงที่ตนอาจต้องพบเจอ ในระหว่างการก่อสร้าง ให้กับบริษัทผู้รับประกันภัย ซึ่งหากเกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินหรือบุคคลภายนอก บริษัทประกันย่อมต้องรับผิดชอบแทนผู้ซื้อประกันนั่นเอง

ความคุ้มครองประกันก่อสร้างคืออะไร

ความคุ้มครองประกันก่อสร้างคืออะไร

ประกันก่อสร้างเป็นประกันภัยรูปแบบหนึ่งที่คุ้มครองผู้เอาประกันภัย โดยเปรียบเสมือนการโยนความเสี่ยงมาให้บริษัทประกันภัยเป็นผู้แบกรับภาระด้านความเสี่ยงแทน ไม่ว่าอุบัติเหตุจะเกิดกับการเอาประกันภัยเช่นไร ประกันภัยก็ย่อมคุ้มครองผู้เอาประกันภัยโดยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนต่อทรัพย์สินหรือบุคคลผู้ได้รับความเสียหาย อันเนื่องมาจากอุบัติเหตุที่เกิดเนื่องจากระหว่างการก่อสร้างนั้น แต่ทั้งนี้อุบัติเหตุและความคุ้มครองที่บริษัทประกันภัยต้องรับผิด ต้องไม่อยู่ภายใต้เงื่อนไขที่เป็นข้อยกเว้นของกรมธรรม์ประกันภัยเช่นกัน มิเช่นนั้นก็จะเข้าข้อยกเว้นความรับผิดได้

ประกันก่อสร้างที่ดีคืออะไร

ประกันก่อสร้างที่ดีคืออะไร

สำหรับผู้รับเหมาหรือผู้ที่ต้องการทำประกันก่อสร้าง เพื่อต้องการโยนความเสี่ยงให้กับผู้รับประกันภัยหากเกิดอุบัติเหตุที่เกี่ยวข้องในระหว่างการก่อสร้าง เพราะตนจะได้ไม่ต้องแบกรับภาระหลังเกิดอุบัติเหตุนั้นๆ ซึ่งบริษัทผู้รับประกันก่อสร้างส่วนใหญ่ก็มักจะมีรูปแบบการรับประกันภัยทีคล้ายๆ กัน แต่ก็ยังคงมีเงื่อนไขหรือรายละเอียดที่แตกต่างกันออกไปบ้าง ดังนั้นก่อนที่จะเลือกทำประกันก่อสร้างควรคำนึงถึงคุณสมบัติทั้งของประกันภัยและบริษัทซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยด้วย

ทำไมต้องทำประกันการก่อสร้าง

ประกันการก่อสร้าง ประกันงานก่อสร้าง ประกันรื้อถอน ประกันภัยการก่อสร้าง

การก่อสร้างมักทำให้เกิดอุบัติเหตุได้โดยง่าย ไม่ว่าจะเป็นอุบัติเหตุที่ส่งผลเสียต่อผู้รับเหมาเอง หรือผู้ว่าจ้าง รวมไปถึงการเกิดความเสียหายแก่บุคคลภายนอกได้ด้วย ซึ่งจะพบเห็นตามข่าวกันได้บ่อยครั้งกับการเกิดอุบัติเหตุอันเนื่องมาจากการก่อสร้าง แม้จะไม่ได้เกิดจากความบกพร่องของผู้รับเหมาก็ตาม อุบัติเหตุที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ก็ยังสามารถเกิดกับบุคคลภายนอกได้เช่นกัน ดังนั้นการเลือกทำประกันการก่อสร้าง จึงเข้ามามีบทบาทสำคัญที่ช่วยทำให้ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น โอนไปยังบริษัทผู้รับประกันภัย จึงทำให้ผู้รับเหมารวมไปถึงผู้ว่าจ้างคลายความกังวลใจในเรื่องการชดใช้ค่าเสียหายไปได้เลย

ความเสี่ยงในการก่อสร้างรับเหมา

ประกันการก่อสร้าง ประกันงานก่อสร้าง ประกันรื้อถอน ประกันภัยการก่อสร้าง

การก่อสร้างรับเหมาถือได้ว่าเป็นอีกงานหนึ่งที่มีความเสี่ยงค่อนข้างสูง และหากการรับงานก่อสร้างที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถ รวมทั้งการใช้เทคนิคเฉพาะด้าน และการก่อสร้างขนาดใหญ่ด้วยแล้วล่ะก็ ย่อมมีอัตราความเสี่ยงสูงขึ้นจากเดิมไปอีก ไม่ว่าความเสี่ยงนั้นจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้รับเหมาเอง หรือความเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลภายนอกก็ตาม ดังนั้นผู้รับเหมาจึงควรศึกษาและทำความเข้าใจถึงความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้เนื่องจากการก่อสร้างนั้นๆ เพื่อเป็นการเตรียมการรับมือกับสถานการณ์ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้นั่นเอง

ประกันการก่อสร้าง ประกันรูปแบบหนึ่งที่หลายคนอาจไม่รู้จัก

ประกันการก่อสร้าง ประกันงานก่อสร้าง ประกันรื้อถอน ประกันภัยการก่อสร้าง

ทุกวันนี้ไม่ว่าจะเป็นตึกสูงๆ อาคารออฟฟิศใหญ่ๆ ล้วนเกิดขึ้นมาจากการก่อสร้างทั้งนั้น และในปัจจุบันงานก่อสร้างก็มีให้เห็นอย่างมากมาย เนื่องด้วยความเจริญทางด้านวัตถุและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว การก่อสร้างต่างๆ จึงเป็นไปอย่างรวดเร็วด้วยเช่นกัน ซึ่งการก่อสร้างเหล่านี้ล้วนต้องการการทำประกันภัยการก่อสร้างเช่นเดียวกัน เพราะความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นมีสูงมากไม่ต่างจากสิ่งอื่นๆ เลย ดังนั้นการทำประกันการก่อสร้างจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่สามารถช่วยทดแทนความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการก่อสร้างได้ด้วย

จัดการความเสี่ยงอย่างไร โดนใจทุกธุรกิจและผู้ประกอบการ

ประกัน ความเสี่ยง ประกันภัย ประกันอัคคีภัย อัคคีภัย

ความเสี่ยงกับการทำธุรกิจมักเป็นของคู่กัน เพราะการลงทุนทุกอย่างย่อมมีความเสี่ยงอยู่ในตัวเอง รวมทั้งการลงทุนประกอบการดำเนินธุรกิจประเภทต่างๆ ก็เช่นกัน มักเป็นการลงทุนเพื่อแสวงหากำไรที่ได้จากการประกอบการ ดังนั้นจึงเป็นธรรมดาที่ต้องมีความเสี่ยงเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเสมอนั่นเอง แต่ถึงแม้จะมีความเสี่ยงเข้ามาเกี่ยวข้องในทุกธุรกิจก็ตาม เรายังสามารถหลีกเลี่ยงหรือป้องกันไม่ให้ความเสี่ยงเกิดขึ้น หรือเกิดขึ้นให้น้อยที่สุดได้ หากมีการวางแผนการรับมือที่ดี

วางแผนให้ดีก่อนส่งออกกับการหาเงินทุนในการส่งออกไว้ล่วงหน้า

ประกันส่งออก ประกันขนส่ง ประกันภัยการขนส่ง ประกันภัยการส่งออก

ธุรกิจที่ต้องมีการส่งออกไม่ว่าจะเป็นการส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้านที่อยู่ใกล้เคียง หรือจะเป็นประเทศในแถบอื่นก็ตาม ย่อมต้องมีค่าใช้จ่ายที่เกิดเนื่องจากการส่งออกที่ตามมาเป็นอย่างมาก เมื่อเทียบกับการกระจายสินค้าหรือบริการภายในประเทศ เพราะการส่งออกในทุกธุรกิจย่อมต้องมีค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการส่งออกเช่นกัน อีกทั้งเนื่องจากการส่งออกสินค้าและบริการไปยังต่างประเทศมีหลายขั้นตอน ซึ่งบางขั้นตอนต้องอาศัยการใช้บริการ Sub Contract อีกทอดหนึ่ง จึงทำให้ต้องควักเงินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายหลายต่อนั่นเอง

อยากส่งออกทำอย่างไร สิ่งที่ควรรู้ไว้เพื่อการส่งออกที่ดี

ประกันส่งออก ประกันขนส่ง ประกันภัยการขนส่ง ประกันภัยการส่งออก

ธุรกิจทุกวันนี้ต้องมีการขยายตัว และพร้อมปรับตัวให้ทันตามวิถีโลกอย่างรวดเร็วจึงจะยืนหยัดในวงการธุรกิจได้อย่างยาวนาน ซึ่งการส่งออกสินค้าและบริการของตนเองไปยังประเทศเพื่อนบ้าน หรือต่างประเทศอื่นๆ ก็นับว่าเป็นวิถีหนึ่งในการเข้าสู่วงจรเพื่อขยายตัวทางธุรกิจที่สำคัญ อีกทั้งต่างประเทศยังได้สัมผัสถึงสินค้าของคุณได้มากกว่า ซึ่งการส่งออกถือว่าเป็นการเปิดสินค้าให้ลูกค้าจากต่างประเทศเข้าถึงได้ง่ายด้วย แต่ก็ยังมีหลายๆ ธุรกิจที่ยังไม่มีแนวทางชัดเจนว่าควรจะเริ่มต้นการส่งออกอย่างไรบ้าง มาดุการส่งออกว่าควรทำอย่างไร และอย่างไรถึงเรียกว่าการส่งออกที่ดี

รู้ไว้ ทำความเข้าใจให้ดีก่อนทำธุรกิจกับความเสี่ยงเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนเบื้องต้น

ประกันส่งออก ประกันขนส่ง ประกันภัยการขนส่ง ประกันภัยการส่งออก

เมื่อมีการแลกเปลี่ยนสินค้าหรือส่งออกระหว่างประเทศ จากประเทศต้นทางไปยังประเทศปลายทาง เพื่อกระจายสินค้าหรือบริการนั้น ปัจจัยหนึ่งที่เป็นสิ่งสำคัญในการซื้อขายระหว่างประเทศนั่นก็คือ อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินที่คุณควรทำความเข้าใจในทุกขณะด้วย เพราะอัตราแลกเปลี่ยนในแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน หรือแม้จะเป็นประเทศเดิมที่เป็นคู่ค้าเก่า ก็ยังคงต้องศึกษาถึงอัตราแลกเปลี่ยนด้วย เพราะค่าเงินมีการผันผวนอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นคุณจึงต้องเป็นคนหูไวตาไวอยู่ตลอด เพื่อรู้ให้ทันทุกช่วงในการปรับเปลี่ยนขึ้น-ลง ของอัตราค่าเงินในแต่ละประเทศนั่นเอง

ความเสี่ยงในการทำเอกสารส่งออก รู้ไว้ก่อนจะได้หลีกหนีความเสี่ยงนั้นได้

ประกันส่งออก ประกันขนส่ง ประกันภัยการขนส่ง ประกันภัยการส่งออก

อีกหนึ่งขั้นตอนที่อาจเกิดความเสียหายให้กับธุรกิจได้นั่นก็คือ การส่งออกสินค้าไปยังประเทศต่างๆ เพื่อกระจายสินค้าและการเข้าถึงของลูกค้าให้มากขึ้น อีกทั้งยังเป็นการสร้างคอนเนคชั่นขององค์ให้ขยายใหญ่และเติบโตขึ้นได้ด้วย ซึ่งการส่งออกสินค้าไม่ว่าจะเป็นกระบวนการโดยโลจิสติกส์แบบใด ย่อมอาจเกิดความเสียหายแก่การขนส่งหรือลำเลียงสินค้านั้นๆ ได้ รวมทั้งขั้นตอนเริ่มแรกหรือขั้นตอนสุดท้ายในการส่งออก ซึ่งก็คือการทำเอกสารส่งออกนั่นเอง ซึ่งการทำเอกสารส่งออกถือว่าเป็นสิ่งสำคัญและละเอียดอ่อนต่อการส่งออกเป็นอย่างยิ่ง เพราะต้องมีคู่ค้าปลายทางที่อยู่อีกสถานที่หนึ่ง และอยู่ห่างกันโดยระยะทาง ดังนั้นการทำเอกสารส่งออกจึงต้องมีความรัดกุมเป็นพิเศษนั่นเอง

เทคนิคการบริหารความเสี่ยงที่ผู้ประกอบการควรรู้

ประกัน ความเสี่ยง ประกันภัย ประกันอัคคีภัย อัคคีภัย

ความเสี่ยงในการประกอบกิจการต่างๆ ล้วนเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดความเสียหายและผลร้ายต่อธุรกิจได้ ดังนั้นการวางแผนเพื่อให้ธุรกิจเติบโตไปได้อย่างปลอดภัย และยังสร้างผลกำไรให้เป็นที่น่าพอใจ จึงควรมีการวางแผนในทุกๆ ขั้นตอน รวมทั้งการบริหารความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากการดำเนินการได้ด้วย เพื่อที่จะได้ลดภาวะความเสี่ยงให้เป็นศูนย์หรือน้อยลง หรือเพื่อเป็นอีกทางหนึ่งที่ช่วยให้ผู้ประกอบการเตรียมรับมือได้อย่างถูกต้อง และทันท่วงทีนั่นเอง

เทคนิคการเลือกชำระเงินค่าสินค้าระหว่างประเทศ

ประกันส่งออก ประกันขนส่ง ประกันภัยการขนส่ง ประกันภัยการส่งออก

เพราะการส่งออกสินค้าในแต่ละคราวมักมีการขนส่งเป็นจำนวนมากในแต่ละคราว ทั้งนี้เพราะการส่งออกในแต่ละครั้งย่อมมีค่าใช้จ่ายและค่าเสี่ยงภัยต่างๆ ที่ตามมามากกว่าการขายสินค้าในประเทศ ซึ่งผู้ประกอบการทั้งหลายย่อมทราบปัญหาข้อนี้ดี แต่ก็ยอมก้าวเข้าสู่การบริหารการส่งออกสินค้าเพื่อเป็นการบุกตลาดสินค้าของตนให้ขยายตัวมากขึ้น ดังนั้นการชำระเงินค่าสินค้าในการส่งออกไปยังต่างประเทศก็ย่อมมีจำนวนสูงมากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งผู้ประกอบการทั้งหลายก็ยังมีตัวช่วยในเรื่องการชำระเงิน ที่สามารถเลือกให้เหมาะสมกับธุรกิจของตนเองด้วย มีเทคนิคอะไรบ้าง ตามมาดูกันเลย

เตรียมความพร้อมก่อนส่งออกอย่างไร ให้ทะยานสู่จุดหมายได้โดยง่าย

ประกันส่งออก ประกันขนส่ง ประกันภัยการขนส่ง ประกันภัยการส่งออก

การส่งออกสินค้าของไทยที่มีแนวโน้มสูงขึ้นตลอดมา ไม่ว่าจะเป็นสินค้าภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรม หรือเทคโนโลยีต่างๆ สำหรับผู้ประกอบการรายเดิมที่เชี่ยวชาญด้านการส่งออกคงไม่มีปัญหาอะไรในการเตรียมความพร้อมก่อนส่งออก แต่หากคุณเป็นผู้ประกอบการรายใหม่ที่กำลังก้าวเข้าสู่การส่งออกสินค้าแล้วล่ะก็  ควรศึกษาถึงขั้นตอนและปัจจัยต่างๆ เพื่อช่วยในการเตรียมความพร้อมก่อนส่งออกที่ถูกต้องด้วย ทั้งนี้เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงที่อาจสร้างปัญหาที่ตามมาได้นั่นเอง

ขั้นตอนการส่งออกที่ถูกต้อง

ประกันส่งออก ประกันขนส่ง ประกันภัยการขนส่ง ประกันภัยการส่งออก

การส่งออกในปัจจุบันมีแนวโน้มสูงมากขึ้นทุกปี เนื่องจากความต้องการสินค้าของต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้านมักมีความต้องการสินค้าที่สูงขึ้นมากอย่างต่อเนื่อง เช่น ผลไม้ พืชผัก ข้าว ซึ่งประเทศเราผลิตได้ในปริมาณมากและมีคุณภาพ ส่วนสินค้าอื่นๆ ก็ยังคงมีทิศทางการส่งออกที่สูงขึ้นด้วย ทั้งนี้เนื่องจากการซื้อขายระหว่างประเทศง่ายขึ้น การขนส่งสินค้าระหว่างประเทศมีความคล่องตัวและรวดเร็วขึ้นด้วย จึงส่งผลให้ทิศทางการส่งออกมีแนวโน้มสูงขึ้นตลอดเวลานั่นเอง ซึ่งก่อนที่ผู้ประกอบการจะส่งสินค้าออกนั้น ควรเรียนรู้และศึกษาถึงขั้นตอนการส่งออกต่างๆ ที่ถูกต้องและครบถ้วนด้วย เพื่อการส่งออกที่ถูกต้องตามระเบียบ และลดความยุ่งยากที่อาจเกิดขึ้นได้นั่นเอง

วางแผนความเสี่ยงการขนส่งทางทะเล

ประกันส่งออก ประกันขนส่ง ประกันภัยการขนส่ง ประกันภัยการส่งออก

การขนส่งทางทะเล นับเป็นกระบวนการโลจิสติกส์อย่างหนึ่งที่มีความเติบโตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในอดีตการขนส่งทางทะเลก็นับว่ามีบทบาทที่สำคัญต่อการขนส่งสินค้าและบริการต่างๆ ระหว่างกัน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ และในปัจจุบันด้วยการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่เป็นไปอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งการค้าระหว่างประเทศที่มีการเปิดการค้าแบบเสรีมากขึ้น การขนส่งสินค้าทางทะเลจึงมีบทบาทที่สำคัญอย่างยิ่ง และกลายเป็นการขนส่งที่มีความซับซ้อนและข้อยุ่งยากมากกว่าอดีตด้วย ทั้งในเรื่องการบรรจุสินค้า การลำเลียง การขนส่ง ท่าเรือต้นท่าและปลายท่า เป็นต้น ดังนั้นเหล่าผู้ประกอบการทั้งหลายจึงควรมีการวางแผนความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการขนส่งทางทะเลด้วย ทั้งนี้เพื่อเป็นการบรรเทาหรือทุเลาความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้นั่นเอง

ความคุ้มครองประกันการขนส่งทางทะเล

ประกันส่งออก ประกันขนส่ง ประกันภัยการขนส่ง ประกันภัยการส่งออก

ประกันการขนส่งทางทะเล คือชื่อเรียกโดยรวมของการขนส่งสินค้าต่างๆ ตั้งแต่การขนส่งสินค้าโดยทางเรือ ต่อเนื่องไปจนถึงการลำเลียงสินค้าเพื่อให้ไปถึงปลายทางด้วยทางบก หรือทางอากาศ แต่จะเรียกโดยรวมว่าการขนส่งสินค้าทางทะเลนั่นเอง ซึ่งการขนส่งสินค้าทางทะเลนับเป็นการขนส่งสินค้าที่มีผู้ใช้บริการเป็นจำนวนมาก เนื่องจากสามารถขนส่งสินค้าได้คราวละจำนวนมาก ทั้งยังเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการขนส่งด้วยวิธีอื่นๆ อีกด้วย แต่การขนส่งสินค้าทางทะเลนี้ก็มีข้อจำกัดที่สร้างเงื่อนไขให้กับเจ้าของธุรกิจเช่นกัน เนื่องจากอาจเกิดเหตุการณ์ต่างๆ ที่ไม่อาจคาดการณ์ได้ล่วงหน้า ดังนั้นจึงควรมีการทำประกันภัยขนส่งทางทะเลทุกครั้ง เพื่อเป็นการบรรเทาความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้นั่นเอง