เทคนิคการบริหารความเสี่ยงที่ผู้ประกอบการควรรู้

ความเสี่ยงในการประกอบกิจการต่างๆ ล้วนเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดความเสียหายและผลร้ายต่อธุรกิจได้ ดังนั้นการวางแผนเพื่อให้ธุรกิจเติบโตไปได้อย่างปลอดภัย และยังสร้างผลกำไรให้เป็นที่น่าพอใจ จึงควรมีการวางแผนในทุกๆ ขั้นตอน รวมทั้งการบริหารความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากการดำเนินการได้ด้วย เพื่อที่จะได้ลดภาวะความเสี่ยงให้เป็นศูนย์หรือน้อยลง หรือเพื่อเป็นอีกทางหนึ่งที่ช่วยให้ผู้ประกอบการเตรียมรับมือได้อย่างถูกต้อง และทันท่วงทีนั่นเอง

ประกัน ความเสี่ยง ประกันภัย ประกันอัคคีภัย อัคคีภัย
ประกัน ความเสี่ยง ประกันภัย ประกันอัคคีภัย อัคคีภัย

เทคนิคการบริหารความเสี่ยงง่ายๆ ที่ควรรู้ไว้

ความเสี่ยงจำแนกออกได้เป็น 4 แบบคือ

1.ความเสี่ยงทางด้านกลยุทธ์ (Strategic Risk : SR)

2.ความเสี่ยงทางด้านการเงิน (Financial Risk : FR)

3.ความเสี่ยงทางด้านการปฏิบัติงาน (Operational Risk : OR)

4.ความเสี่ยงทางด้านกฎหมาย และข้อกำหนดผูกพันองค์กร (Compliance Risk : CR)

ก่อนที่จะเจาะลึกถึงเทคนิคในการบริหารความเสี่ยงรูปแบบต่างๆ ผู้ประกอบการควรต้องประเมินความเสี่ยงเสียก่อน เพื่อให้ทราบทิศทางหรือแนวโน้มที่อาจเกิดขึ้นจากความเสี่ยงรูปแบบต่างๆ ได้ จึงจะได้เข้าใจเทคนิคในการบริหารความเสี่ยงเพื่อลดหรือเลี่ยงความเสี่ยงนั้นๆ ไม่ให้เกิดขึ้นนั่นเอง

โดยการประเมินความเสี่ยงแบ่งได้เป็นระดับต่างๆ ตามความรุนแรงหรือความเข้มข้น ทั้งนี้เพื่อให้ทราบถึงระดับความเสี่ยงได้ตรงกัน จึงแบ่งความเสี่ยงออกได้ดังนี้

1.โอกาสที่จะเกิด (Likelihood) หมายถึง ความถี่หรือโอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์ ความเสี่ยง

2.ผลกระทบ (Impact) หมายถึง ขนาดความรุนแรงของความเสียหายที่จะเกิดขึ้นหากเกิด เหตุการณ์ความเสี่ยง

3.ระดับของความเสี่ยง (Degree of Risk) หมายถึง สถานะของความเสี่ยงที่ได้จากประเมินโอกาสและผลกระทบ ของแต่ละปัจจัยเสี่ยงแบ่งเป็น 5 ระดับ คือ สูงมาก สูง ปานกลาง น้อย และน้อยมาก

การบริหารความเสี่ยง คือการบริหารจัดการเพื่อให้ได้ตามเป้าประสงค์ในการลดหรือเลี่ยงความเสี่ยงไม่ให้เกิดขึ้น หรือเกิดขึ้นน้อยที่สุดนั่นเอง ซึ่งเทคนิคในการบริหารความเสี่ยงก็มีดังต่อไปนี้

1.การยอมรับความเสี่ยง (Risk Acceptance) เป็นการยอมรับความเสี่ยงที่เกิดขึ้น เนื่องจากไม่คุ้มค่า ในการจัดการควบคุมหรือป้องกันความเสี่ยง ในที่นี้เมื่อประเมินดูแล้วว่าความเสี่ยงที่เกิดขึ้น ไม่คุ้มกับการควบคุมแล้วล่ะก็ ไม่ควรเข้าไปจัดการเพราะจะทำให้เกิดความเสียหายในทางตัวเงินแก่องค์กรไปอีกนั่นเอง

2.การลด/การควบคุมความเสี่ยง (Risk Reduction) เป็นการปรับปรุงระบบการทำงานหรือการออกแบบวิธีการทำงานใหม่เพื่อลดโอกาสที่จะเกิด หรือลดผลกระทบให้อยู่ในระดับที่องค์กรยอมรับได้

3.การกระจายความเสี่ยง หรือการโอนความเสี่ยง (Risk Sharing) เป็นการกระจายหรือถ่ายโอนความเสี่ยงให้ผู้อื่นช่วยแบ่งความรับผิดชอบไป เรียกได้ว่าหาที่รองรับเพื่อแบ่งเบาความเสี่ยง โดยการเฉลี่ยความเสี่ยงนั่นเอง

4.เลี่ยงความเสี่ยง (Risk Avoidance) เป็นการจัดการความเสี่ยงที่อยู่ในระดับสูงมากและหน่วยงานไม่อาจยอมรับได้ จึงต้องตัดสินใจยกเลิกโครงการ/กิจกรรมนั้น นับว่าเป็นขั้นตอนหรือหนทางสุดท้ายที่เป็นการยอมรับ เพื่อลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้มากกว่าเดิม

การบริหารความเสี่ยงที่ดีจึงควรมีเทคนิคในการบริหาร อีกทั้งยังต้องทำความเข้าใจและเรียนรู้ถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ เพื่อจะได้หาวิธีรองรับและการเตรียมการรับมือที่ถูกต้องที่สุดนั่นเอง