การจัดการความเสี่ยงจากการก่อสร้าง

การจัดการความเสี่ยงจากการก่อสร้าง

การจัดการความเสี่ยงจากการก่อสร้าง
การจัดการความเสี่ยงจากการก่อสร้าง

การก่อสร้างทุกชนิดมักต้องทำประกันการก่อสร้างไว้ เนื่องจากการก่อสร้างต้องใช้ทั้งทุนทรัพย์และแรงงานเป็นจำนวนมาก ทั้งยังต้องใช้ระยะเวลาก่อสร้างที่ยาวนาน ซึ่งอาจเกิดความเสี่ยงจากการก่อสร้างให้กับทรัพย์สินหรือบุคคลได้ ดังนั้นผู้รับเหมาหรือเจ้าของโครงการจึงทำประกันการก่อสร้าง เพื่อเป็นการโอนความเสี่ยงในการแบกรับภาระความเสี่ยงให้ไปอยู่กับผู้รับประกันภัยแทน ซึ่งทำให้ผู้ที่ต้องเข้ามารับผิดจากอุบัติเหตุที่เกิดจากการก่อสร้างคือบริษัทผู้รับประกันภัย โดยผู้รับเหมาหรือเจ้าของโครงการหลุดพ้นจากความรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือค่าเสียหายต่างๆ แต่ทั้งนี้ต้องไม่เข้าข้อยกเว้นตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยด้วย

ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการก่อสร้างแบ่งได้ดังนี้

1.ความเสี่ยงที่เกิดจากภัยธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นอุทกภัย วาตภัย หรืออื่นๆ ที่เกิดขึ้นโดยไม่อาจคาดการณ์ล่วงหน้าได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้มักทำให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินในระหว่างก่อสร้างเป็นจำนวนมาก หากผู้รับเหมาหรือเจ้าของโครงการทำประกันการก่อสร้างไว้ล่วงหน้า ก็ย่อมได้รับประโยชน์จากการได้รับใช้ค่าสินไหมทดแทนจากความเสียหายที่เกิดขึ้นนี้

2.ความเสี่ยงที่เกิดจากบุคคลนั้นเอง รวมทั้งความเสี่ยงที่เกิดจากเครื่องจักรด้วย ซึ่งการก่อสร้างจำเป็นต้องใช้วัสดุและอุปกรณ์ในการก่อสร้าง ซึ่งอาจทำให้เครื่องจักรนั้นก่อความเสียหายให้กับทรัพย์สินอื่นหรือบุคคลได้เช่นกัน

การจัดการความเสี่ยงที่เกิดเนื่องจากการก่อสร้าง

เมื่อมีความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการก่อสร้างนั้น จึงต้องมีการบริหารจัดการความเสี่ยงไว้ด้วย เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงหรือจำกัดความเสี่ยงให้อยู่ในวงแคบ หรือเป็นการจำกัดให้มีความเสี่ยงน้อยที่สุดนั่นเอง ซึ่งผู้รับเหมาก่อสร้างหรือเจ้าของโครงการ ควรมีการบริหารจัดการความเสี่ยงที่ดี เพื่อที่ลดความเสียหายที่อาจเกิดเนื่องจากการก่อสร้างนั้นด้วย เพื่อเป็นให้การก่อสร้างนั้นดำเนินไปได้อย่างถูกต้อง ภายในระยะเวลาและปลอดภัยที่สุดนั่นเอง

การจัดการความเสี่ยงจึงแยกเป็นขั้นตอนใหญ่ๆ ได้ดังนี้

การสำรวจความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้จากการก่อสร้างนั้น ผู้รับเหมาหรือเจ้าของโครงการควรสำรวจความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการก่อสร้างได้ โดยมีการวางแผนการดำเนินการก่อสร้าง และสำรวจให้ละเอียดว่ามีสิ่งใดที่อาจเข้าปัจจัยความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ ทั้งนี้เพื่อเป็นการเตรียมการรับมือหรือวางแผนการจัดการเพื่อลดความเสี่ยงนั้นๆ

นำความเสี่ยงนั้นมาวิเคราะห์เพื่อหาวิธีหลีกเลี่ยง และสร้างความปลอดภัยในระหว่างการก่อสร้างนั้น ทั้งนี้เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงและลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้นั่นเอง ซึ่งสิ่งที่ต้องนำมาวิเคราะห์หมายถึงทุกปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างคราวนั้น เพื่อจะได้วิเคราะห์ได้ครอบคลุมที่สุด

นำข้อวิเคราะห์ที่ได้นั้นมาบริหารจัดการความเสี่ยง โดยวางแผนการจัดการความเสี่ยง และปรับปรุงวิธีการดำเนินการเพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงนั้นให้มากที่สุด

การบริหารจัดการความเสี่ยงที่ดี มีผลโดยตรงต่อการก่อสร้างและการทำประกันการก่อสร้าง ทั้งนี้เพื่อเป็นการลดทอนความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ในระหว่างก่อสร้าง รวมทั้งยังลดความเสี่ยงที่อาจสร้างความเสียหายในระหว่างการก่อสร้างด้วย

 

Leave a Comment